เกี่ยวกับภาควิชาฯ

แนะนำภาควิชาฯ

ประวัติความเป็นมาของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2527 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งดำเนินการสอนโดยภาควิชาสถิติและคอมพิวเตอร์
ปี พ.ศ. 2532 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการโดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงครั้งที่ 11/2532 วาระที่ 4.2 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ซึ่ง ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ เป็นหัวหน้าภาควิชาฯ ท่านแรก


หัวหน้าภาควิชาฯ

รศ.ดร.อัณณ์นุพันธ์ รอดทุกข์

ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน 2567 – ปัจจุบัน

ทำเนียบหัวหน้าภาควิชาฯ

ดร.รอม หิรัญพฤกษ์
ช่วงเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง
พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2539
รศ.ณุชากร (ชนินทร์) วิเชียรสรรค์
ช่วงเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง
พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2547
รศ.ดร.ระพีพรรณ พิริยะกุล
ช่วงเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง
พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2549
อ.ชูศักดิ์ ชำนาญยันตรกิจ
ช่วงเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง
พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2555
ผศ.ศรีจิตร รัตนแก้วกาญจน์
ช่วงเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง
พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2559
ผศ.ดร.สาธิษฐ์ นากกระแสร์
ช่วงเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง
29 เมษายน พ.ศ. 2559 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ผศ.อนุช มหฤทัยนนท์
ช่วงเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง
21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ผศ.ดร.อัจฉรา มหาวีรวัฒน์
ช่วงเวลาที่เข้ารับตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2563 – 28 กันยายน พ.ศ. 2567

– ปรัชญา –

“ผลิตบัณฑิตด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ให้เป็นผู้เรืองปัญญา
พร้อมพัฒนาสู่สากล”

– ปณิธาน

  1. มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ จริยธรรม และมีวิธีคิดอย่างวิทยาศาสตร์
  2. มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร และการทำวิจัย
  3. มุ่งเน้นพัฒนาหลักสูตรฯ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสังคม

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ให้มีคุณภาพ มีจริยธรรมและมีวิธีคิดอย่างวิทยาศสตร์
  2. จัดการศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  3. ส่งเสริมงานวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม
  4. เพื่อจัดการและบริหารงานภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    ให้เกิดประสิทธิภาพ

– พันธกิจ

มหาวิทยาลัยยึดหลักการจัดการอุดมศึกษา ในการรับผิดชอบต่อสังคม มีเสรีภาพทางวิชาการ
มีความเป็นอิสระ มีความเสมอภาคและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการในพันธกิจ ดังนี้

  1. การจัดการศึกษา
  2. การบริการวิชาการแก่สังคม
  3. การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม
  4. การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
  5. การบริหารจัดการตามอำนาจและหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนด

– วิสัยทัศน์ –

“ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศ
ทางวิชาการและทักษะ
ด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศ”

ผู้เรืองปัญญา คือ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ

พัฒนาสู่สากล คือ พัฒนาหลักสูตร, พัฒนาบุคลากรให้ทำวิจัยและศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
พัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะและภูมิปัญญาในงานอาชีพด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้งมีจิตสำนึกและคุณธรรมให้เป็นที่ยอมรับต่อสังคมไทย และสังคมโลก